ตราประจำจังหวัดลำปาง รูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวง หมาย ถึง ไก่เผือก เป็นสัญลักษณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยเมืองกุกุตตนคร (ตำนานเมืองลำปาง) และได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ โดยปรากฏเครื่องหมายไก่เผือก คู่กับ ดวงตราแผ่นดินในศาลากลางเมืองลำปาง ตั้งแต่สมัยเริ่มเปลี่ยนที่ทำการเมืองจาก "เค้าสนามหลวง" เป็นศาลากลางเมืองนครลำปางขึ้น ในสมัยเริ่มสร้างศาลากลางหลังแรก เมื่อ พ.ศ. 2452 ซุ้มมณฑปที่วัดพระธาตุ ลำปางหลวง เป็นศิลปกรรมล้านนาที่งดงามมาก วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง มีองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเกษาธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

ชมเมืองบนรถม้า

ชมเมืองบนรถม้า
นับเป็นเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียว ที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอน ของทางภาคเหนือแต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึง เลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียว ที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบ จนกระทั่งวันนี้

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยและสวนป่าทุ่งเกวียน

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยและสวนป่าทุ่งเกวียน
ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือองค์การ อุตสาหกรรมป่าไม้ แต่เดิม เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว ในโลก โดยเริ่ม ดำเนินการ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความ ชำนาญในการทำไม้ ซื่งในอดีตการทำไม้ในท้องถิ่นภาคเหนือ ส่วนมากเป็นไม้สักซึ่งเป็นที่รู้จักกัน ทั่วไปว่าเป็นไม้ที่มีลวดลาย งดงามและทนทาน มีค่าสูง เป็นสิค้าส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่ง ของประเทศไทย